องค์การบริหารส่วนตำบลจอมศรี อำเภอจอมศรี จังหวัดเชียงคาน : www.jomsi.go.th

 
 
 


รับคณะศึกษาดูงานของธนาคารน้ำใต้ดิน


ขั้นตอนที่ 1 การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด กำหนดจุดรวมน้ำของบ้าน/หมู่บ้าน/ชุมชน ขุดบ่อขนาดกว้าง 1.50 ม. ยาว 1.50 ม. ลึก 1.50 ม. ขั้นตอนที่ 2 การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด นำเศษอิฐ เศษหิน เศษกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่า ขวดพลาสติกสี(ขวดพลาสติกให้ใส่น้ำ 1/3 ของขนาดขวด) ใส่ลงไปในบ่อสูงประมาณ 1.20 ม. และควรจะมีท่อระบายอากาศในบ่อเพื่อช่วยให้น้ำไหลลงบ่อ และกระจายตัวเร็วขึ้น ขั้นตอนที่ 3 การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ปูด้วยตาข่ายมุ้งเขียวทับด้านบนปากบ่อ ขั้นตอนที่ 4 การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด นำหินเล็กมาเททับตาข่ายมุ้งเขียวจนเสมอขอบบ่อ การจัดการกับพื้นที่น้ำขังตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของเรานั้น สามารถทำได้โดยง่ายและใช้วัสดุเหลือใช้ เช่น ขวดน้ำพลาสติกสี ยางรถยนต์เก่า เศษอิฐ เศษกระถางต้นไม้ เศษโอ่ง กระเบื้องที่แตก นำมาทำให้เกิดประโยชน์อีกด้วย วัสดุและอุปกรณ์ในการทำ จอบและเสียมในการขุดหลุม หินเล็ก ตาข่ายมุ้งเขียว ท่อระบายอากาศ ยางรถยนต์เก่า เศษหิน เศษอิฐ เศษกระเบื้อง ขวดพลาสติกสี ประโยชน์ที่ได้รับ บ้านที่อยู่อาศัยของเราจะไม่มีพื้นที่น้ำขัง สามารถนำขวดน้ำพลาสติกสีมาใช้ประโยชน์ได้ (ขวดน้ำทีร้านรับซื้อของเก่าไม่เอา) สามารถนำยางรถยนต์เก่ามาใช้ประโยชน์ได้ สามารถนำเอาเศษหิน เศษอิฐ เศษกระเบื้อง มาใช้ประโยชน์ได้ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินได้ สามารถช่วยลดปริมาณน้ำและกระจายน้ำให้ลงสู่พื้นดิน ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยบรรเทาสภาวะน้ำท่วมขังได้





2024-04-18
2024-04-18
2024-04-18
2024-04-18
2024-04-17
2024-04-17
2024-04-17
2024-04-17
2024-04-17
2024-04-17